วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครืข่ายคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครือข่ายใหญ่และเครือข่ายย่อยจำนวนมากเชื่อมต่อกันครอบคลุมไปทั่วโลก โดยอาศัยโครงสร้างสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล

อินเทอร์เน็ตเกิดจากความร่วมมือของกระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DOD หรือ US Department of Defense) และองค์กรป้องกันประเทศอเมริกา (ARPA หรือ Armed-Forces Research Project Agency) ก่อตั้งโครงการ ARPANET เพื่อทดลองระบบเครือข่ายของหน่วยงานทางทหาร เป็นการกระจายการเก็บข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง เพื่อป้องกันการทำลายข้อมูลจากข้าศึก มีการเชื่อมโยงศูนย์คอมพิวเตอร์จากที่ต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถทำงานแทนกันได้


การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต  
     การเชื่อมต่อโดยตรงด้วยเกตเวย์ (Gateway) เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ากับ Backbone ของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านเกตเวย์ หรือ IP Router สายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อผ่าน Internet Service Providers (ISP) เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข่้าสู่อินเทอร์เน็ต โดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการเชื่อมโยง


องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ ส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นได้ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายระดับโลกและเป็นเครือข่ายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์จำนวนมาก จึงมีรูปแบบการเชื่อมโยงข้อมูลเฉพาะของตนเอง องค์ประกอบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มี 5 ส่วน ดังนี้

1.ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) คือ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ กล้องดิจิทัล และลำโพงเ ป็นต้น คอมพิวเตอร์จะต้องมีคุณสมบัติพร้อมสำหรับการเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.1 คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server) หรือ โฮสต์ (Host) คือ คอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลและประมวลผลข้อมูลที่รับมาจากคอมพิวเตอร์อื่นๆ โดยทั่วไปต้องเป็นเครื่องคุณภาพสูง เพื่อรองรับการถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมาก
1.2 คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) คือ คอมพิวเตอร์ทั่วไปที่รับส่งข้อมูลมากจากเครื่องแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ เครื่องโน๊ตบุ๊ค เครื่องแลปท็อปฯลฯ ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไปจัดเป็นเครื่องลูกข่ายทั้งสิ้น
2.ตัวกลางและอุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Device) คือ อุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือส่วนกลางกับคอมพิวเตอร์ลูกข่าย เป็นช่องทางสำหรับการรับส่งข้อมูล ประกอบด้วย
2.1 โมเด็ม (Modem) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนรูปแบบสัญญาณข้อมูลระหว่างอะนาล็อกและดิจิทัล ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลของโมเด็มมีหน่วยเป็นบิตต่อนาที (bps) โมเด็มที่มีอัตราความเร็วบิตต่อนาทีสูง 
2.2 สายโทรศัพท์ (Telephone) คือ ระบบโทรศัพท์ทั่วไปซึ่งสามารถนำเอาสายสัญญาณเสียบเข้ากับช่องสำหรับเสียบสายเชื่อมต่อของคอมพิวเตอร์
2.3 สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) คือ สายสัญญาณที่ทำจากเส้นใยพิเศษที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ดีกว่าสายโทรศัพท์ทั่วไป
2.4 คลื่นวิทยุและดาวเทียม (Microwave and Satellite) คือ ระบบการสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุและคลื่นไมโครเวฟรับส่งสัญญาณแบบไร้สายจากดาวเทียม
3. มาตรฐานการควบคุมและการส่งผ่านข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Control/Internet Protocal) คือ มาตรฐานที่ใช้ควบคุมและกำหนดเงื่อนไขในการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่
3.1 มาตรฐานทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocal/Internet Protocal) คือ โพรโตคอลมาตรฐานสำหรับรับส่งข้อมูลของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3.2 มาตรฐานเฮชทีทีพี (HTTP : Hypertext transfer protocol) คือ มาตรฐานสำหรับการสืบค้นข้อมูลชนิดไฮเปอร์เท็กซ์ (HTML) กำหนดและควบคุมวิธีการสื่อสาร ผ่านโปรแกรมสำหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต หรือเบราว์เซอร์ (Browser) กับเครื่องแม่ข่ายหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)
3.3 มาตรฐานเอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocal) คือ มาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมและกำหนดวิธีการ โอนย้ายแฟ้มข้อมูล
4. โปรแกรมสำหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต (Internet Browser Program) คือ โปรแกรมที่ใช้อ่านข้อมูลไฮเปอร์เท็กซ์ตามมาตรฐานเฮชทีเอ็มแอล (HTML) หรือเรียกว่าเบราว์เซอร์ เช่น Internet Explorer , Mozilla Firefox , Netscape Navigator และ Operaเป็นต้น เบราว์เซอร์ทำหน้าที่อ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ เสมือนอ่านหนังสือทีละหน้า สามารถแสดงผลได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง และอื่นๆ
5. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือไอเอสพี (ISP : Internet Service Provider) คือ หน่วยงานหรือ องค์กรผู้ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป โดยผู้ให้บริการแต่ละรายจะเป็นสมาชิกของเครือข่าย ระดับประเทศนั้นๆ แล้วเชื่อมโยงไปยังประเทศต่างๆ  สำหรับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายสำคัญหรือรายใหญ่ที่สุดของไทย คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทยหรือกสท.



ISP (Internet Service Provider)     ตามหนังสือศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ 4 ได้ระบุความหมายว่าหมายถึง "ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต" ISPเป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น แต่สำหรับ ISPประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย ข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปแบบส่วนบุคคล ซึ่งจะให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต และบริการในรูปแบบขององค์กร หรือบริษัท ซึ่งให้บริการกับบริษัทห้างร้าน หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการให้พนักงานในองค์กรได้ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISP จะเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา

โปรโตคอล (Protocol) เป็นกลุ่มของกฏหรือกติกาที่มีการบัญญัติขึ้นสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างตัวส่งและตัวรับ เพื่อให้ตัวส่งและตัวรับใช้กติกานี้ ร่วมกัน ทำให้การสื่อสารเป็นไปได้อย่างถูกต้องและมีระเบียบ



ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต 
1.เป็นแหล่งข้อมูลที่กว้างมาก เพราะข้อมูลถูกสร้างขึ้นมาได้ง่าย คนทุกเพศทุกวัยก็สามารถสร้างได้
2.เป็นแหล่งรับส่งข่าวสารได้หลายรูปแบบ
3.เป็นแหล่งให้ความบันเทิง เช่น เกมส์ ภาพยนตร์ เพลง ข่าว เป็นต้น
4.เป็นช่องทางสำหรับการทำธุรกิจ เป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขาย
5.เป็นช่องทางสำหรับประชาสัมพันธ์องค์กร บริการ สินค้า เป็นต้น
6.ใช้แทนช่องทางการติดต่อสื่อสารในปัจจุบัน โดยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมากขึ้น







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น